วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รวม 10 อันดับสุดยอดเทคโนโลยีในศตวรรษที่ผ่านมา ตอนจบ.


เลเซอร์ (Laser)

เริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับเลเซอร์ก็คือวิศวกรของบริษั ทเบลล์เช่นกัน จากการค้นคว้าในช่วงทศวรรษ 1960 พวกเขาพบว่า แสงสว่างโดยทั่วไปนั้นคลื่นต่างๆ กัน ซึ่งถ้าสามารถรวมแสงที่กระจัดกระจายเหล่านั้นให้รวมต ัวพุ่งเป็นลำเดียวภายใต้ความเข้มสูง แสงนี้ก็จะมีพลังงานมหาศาล สามารถตัดแม้กระทั่งเหล็กได้

                วิธีการสร้างแสงเลเซอร์ ได้แก่การนำเอาวัสดุ ซึ่งอาจเป็นของเหลว ผลึก หรือ ก๊าซ ใส่ลงในกระบอกที่มีกระจกเงาปิดปลายทั้งสองด้าน เมื่อป้อนพลังงานเข้าไปให้อะตอมของธาตุเหล่านี้ปล่อย แสงออกมา และสะท้อนกลับไปกลับมาอยู่ในกระบอก กระทั่งเกิดอะตอมมากมายที่ปล่อยแสง ซึ่งมีความยาวคลื่นและถี่เท่ากัน จากนั้นก็จะเกิดลำแสงเดี่ยวที่มีพลังสูงยิ่ง และนำไปใช้ประโยชน์ได้นานัปการเราคงมิทันตระหนักหรอกว่า แผ่น CD หรือ DVD ที่เราเล่นอยู่นั้น ทำงานโดยเลเซอร์ การคิดราคาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยการสแกนอย่างรวดเร็ว ก็อาศัยเลเซอร์ การสื่อสารทางไกลต่าง ๆ ล้วนพึ่งพาคุณสมบัติของเลเซอร์และที่เป็นประโยชน์ใหญ่หลวงก็คือ การผ่าตัดดวงตาด้วยแสงเลเซอร์ซึ่งปฏิบัติการได้อย่าง ละเอียดและเนียนยิ่ง





คอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer)

ย้อนกลับไปในช่วงปี 1970 อันเป็นยุคที่ชนอเมริกันกำลังท้อแท้กับสงครามเวียดนา ม คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นใหญ่โตเทอะทะคับห้องแอร์ ก็ได้มีสองหนุ่มหัวใสนามสตีฟ จ๊อบส์ กับ สตีฟ วอชนิแอค ได้ร่วมกันค้นคว้าประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่คนท ั่วไปสามารถใช้ได้ อุปกรณ์ชิ้นส่วนสำคัญที่เขาคิดได้นี้เรียกว่าไมโครโพ รเซสเซอร์ ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จิ๋ว ๆ ผนึกติดกับแผ่นซิลิคอนชิพ คอมพ์ฯขนาดเล็กที่มีชื่อว่า แอปเปิล 1 ได้ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1976 แล้วพัฒนาเป็น แอปเปิล 2 ซึ่งมีคำสั่งซื้อไหลหลั่งเข้ามาถึงกว่า 2 ล้านออร์เดอร์




หัวใจเทียม (Artificial Heart Muscles)

ในแต่ละปีโลกเรามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจถึง 17 ล้านคน และหลายประเทศมีการตายด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ อีกนับพันนับหมื่นราย แต่ทว่าในปัจจุบัน ได้มีการประดิษฐ์หัวใจเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพและ รวดเร็วพอเพียงกับจำนวนผู้ป่วยแล้ว
                ย้อนไปใน ค.ศ. 1982 ดร.โรเบิร์ต จาร์วิค ได้ประดิษฐ์หัวใจเทียมชนิดฝังไว้ในอกเครื่องแรกขึ้นใ นชื่อ จาร์วิค 1 (Jarvik 1) มันมีอุปกรณ์ระโยงรยางค์พ่วงมากมาย ประกอบด้วยตู้ควบคุมที่มีขนาดพอ ๆ กับตู้เย็น สายไฟฟ้านั้นโผล่ออกมาจากผิวหนัง ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
                แต่เดี๋ยวนี้ อุปกรณ์ต่างๆ พัฒนาจนกะทัดรัดขึ้น พลังงานที่ใช้มาจากแผงแบตเตอรี่ที่คาดไว้กับตัว ทำให้พกพาไปไหนได้สะดวก มีปั๊มไฮโดรลิกที่สูบฉีดโลหิตพอดีกับจังหวะการเต้นขอ งหัวใจนับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชีวิตอันน่าอัศจรรย์ยิ่ง





โคลนนิ่ง (Cloning)

                โลกเราจะน่าพิศวงสักเพียงไร ถ้าหากเราตื่นขึ้นมาแล้วพบคนคนหนึ่ง ซึ่งเหมือนเราดั่งคนเดียวกัน
                ในปี ค.ศ. 1990 นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งแห่งสถาบันรอสลิน ในสก็อตแลนด์ ได้ทุ่มเทค้นคว้าหาทางผลิตสิ่งมีชีวิตขึ้น โดยมีคุณสมบัติเหมือนบุพการีของมันทุกประการ เขาผู้นั้น- ดร.เอียน วิลมุท นำเอาลูกอัณฑะของแกะตัวหนึ่งมาสกัดเอานิวเคลียสที่มี เซลล์สืบพันธุ์ออก จากนั้นก็เอา DNA จากแกะตัวที่เขาต้องการสร้างทายาทมาใส่แทนที่นิวเคลียสนั้น แล้วจึงนำไปฝังในแกะแม่พันธุ์ ถัดจากนั้นมาอีก 148 วัน ดอลลี่ (Dolly) แกะโคลนนิ่งตัวแรกของโลกก็ถือกำเนิดขึ้นมา
                การพัฒนาโคลนนิ่งนำไปสู่ประโยชน์หลายประการ เช่นการเพาะอวัยวะสำหรับทดแทนอวัยวะของคนไข้ ซึ่งจะไม่ก่อปฏิกิริยาไม่ยอมรับดังเช่นทั่วไป การเพาะพันธุ์วัวที่สามารถให้น้ำนมที่อุดมด้วยโปรตีน หรือมีเนื้อที่มีคุณถาพสำหรับการบริโภค การผลิตวัคซีนสำหรับต่อต้านโรคต่างๆ ฯลฯ


เรียบเรียงโดย : รู้ไว้ซะ
เพจFacebook
ช่องYOUTUBE



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น