เลเซอร์ (Laser)
เริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับเลเซอร์ก็คือวิศวกรของบริษั
ทเบลล์เช่นกัน จากการค้นคว้าในช่วงทศวรรษ 1960 พวกเขาพบว่า
แสงสว่างโดยทั่วไปนั้นคลื่นต่างๆ กัน ซึ่งถ้าสามารถรวมแสงที่กระจัดกระจายเหล่านั้นให้รวมต
ัวพุ่งเป็นลำเดียวภายใต้ความเข้มสูง แสงนี้ก็จะมีพลังงานมหาศาล
สามารถตัดแม้กระทั่งเหล็กได้
วิธีการสร้างแสงเลเซอร์
ได้แก่การนำเอาวัสดุ ซึ่งอาจเป็นของเหลว ผลึก หรือ ก๊าซ
ใส่ลงในกระบอกที่มีกระจกเงาปิดปลายทั้งสองด้าน เมื่อป้อนพลังงานเข้าไปให้อะตอมของธาตุเหล่านี้ปล่อย
แสงออกมา และสะท้อนกลับไปกลับมาอยู่ในกระบอก กระทั่งเกิดอะตอมมากมายที่ปล่อยแสง
ซึ่งมีความยาวคลื่นและถี่เท่ากัน จากนั้นก็จะเกิดลำแสงเดี่ยวที่มีพลังสูงยิ่ง
และนำไปใช้ประโยชน์ได้นานัปการเราคงมิทันตระหนักหรอกว่า แผ่น CD หรือ
DVD ที่เราเล่นอยู่นั้น ทำงานโดยเลเซอร์
การคิดราคาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยการสแกนอย่างรวดเร็ว ก็อาศัยเลเซอร์
การสื่อสารทางไกลต่าง ๆ
ล้วนพึ่งพาคุณสมบัติของเลเซอร์และที่เป็นประโยชน์ใหญ่หลวงก็คือ
การผ่าตัดดวงตาด้วยแสงเลเซอร์ซึ่งปฏิบัติการได้อย่าง ละเอียดและเนียนยิ่ง
คอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer)
ย้อนกลับไปในช่วงปี 1970 อันเป็นยุคที่ชนอเมริกันกำลังท้อแท้กับสงครามเวียดนา ม คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นใหญ่โตเทอะทะคับห้องแอร์
ก็ได้มีสองหนุ่มหัวใสนามสตีฟ จ๊อบส์ กับ สตีฟ วอชนิแอค
ได้ร่วมกันค้นคว้าประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่คนท ั่วไปสามารถใช้ได้
อุปกรณ์ชิ้นส่วนสำคัญที่เขาคิดได้นี้เรียกว่าไมโครโพ รเซสเซอร์
ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จิ๋ว ๆ ผนึกติดกับแผ่นซิลิคอนชิพ
คอมพ์ฯขนาดเล็กที่มีชื่อว่า แอปเปิล 1 ได้ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1976 แล้วพัฒนาเป็น แอปเปิล 2 ซึ่งมีคำสั่งซื้อไหลหลั่งเข้ามาถึงกว่า 2 ล้านออร์เดอร์
หัวใจเทียม (Artificial Heart Muscles)
ในแต่ละปีโลกเรามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจถึง 17 ล้านคน และหลายประเทศมีการตายด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
อีกนับพันนับหมื่นราย แต่ทว่าในปัจจุบัน
ได้มีการประดิษฐ์หัวใจเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
รวดเร็วพอเพียงกับจำนวนผู้ป่วยแล้ว
ย้อนไปใน ค.ศ. 1982 ดร.โรเบิร์ต จาร์วิค ได้ประดิษฐ์หัวใจเทียมชนิดฝังไว้ในอกเครื่องแรกขึ้นใ นชื่อ
จาร์วิค 1 (Jarvik 1) มันมีอุปกรณ์ระโยงรยางค์พ่วงมากมาย
ประกอบด้วยตู้ควบคุมที่มีขนาดพอ ๆ กับตู้เย็น สายไฟฟ้านั้นโผล่ออกมาจากผิวหนัง
ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
แต่เดี๋ยวนี้
อุปกรณ์ต่างๆ พัฒนาจนกะทัดรัดขึ้น พลังงานที่ใช้มาจากแผงแบตเตอรี่ที่คาดไว้กับตัว
ทำให้พกพาไปไหนได้สะดวก มีปั๊มไฮโดรลิกที่สูบฉีดโลหิตพอดีกับจังหวะการเต้นขอ
งหัวใจนับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชีวิตอันน่าอัศจรรย์ยิ่ง
โคลนนิ่ง (Cloning)
โลกเราจะน่าพิศวงสักเพียงไร
ถ้าหากเราตื่นขึ้นมาแล้วพบคนคนหนึ่ง ซึ่งเหมือนเราดั่งคนเดียวกัน
ในปี ค.ศ. 1990 นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งแห่งสถาบันรอสลิน ในสก็อตแลนด์
ได้ทุ่มเทค้นคว้าหาทางผลิตสิ่งมีชีวิตขึ้น โดยมีคุณสมบัติเหมือนบุพการีของมันทุกประการ
เขาผู้นั้น- ดร.เอียน วิลมุท นำเอาลูกอัณฑะของแกะตัวหนึ่งมาสกัดเอานิวเคลียสที่มี
เซลล์สืบพันธุ์ออก จากนั้นก็เอา DNA จากแกะตัวที่เขาต้องการสร้างทายาทมาใส่แทนที่นิวเคลียสนั้น แล้วจึงนำไปฝังในแกะแม่พันธุ์ ถัดจากนั้นมาอีก 148 วัน ดอลลี่ (Dolly)
แกะโคลนนิ่งตัวแรกของโลกก็ถือกำเนิดขึ้นมา
การพัฒนาโคลนนิ่งนำไปสู่ประโยชน์หลายประการ เช่นการเพาะอวัยวะสำหรับทดแทนอวัยวะของคนไข้ ซึ่งจะไม่ก่อปฏิกิริยาไม่ยอมรับดังเช่นทั่วไป การเพาะพันธุ์วัวที่สามารถให้น้ำนมที่อุดมด้วยโปรตีน หรือมีเนื้อที่มีคุณถาพสำหรับการบริโภค การผลิตวัคซีนสำหรับต่อต้านโรคต่างๆ ฯลฯ
การพัฒนาโคลนนิ่งนำไปสู่ประโยชน์หลายประการ เช่นการเพาะอวัยวะสำหรับทดแทนอวัยวะของคนไข้ ซึ่งจะไม่ก่อปฏิกิริยาไม่ยอมรับดังเช่นทั่วไป การเพาะพันธุ์วัวที่สามารถให้น้ำนมที่อุดมด้วยโปรตีน หรือมีเนื้อที่มีคุณถาพสำหรับการบริโภค การผลิตวัคซีนสำหรับต่อต้านโรคต่างๆ ฯลฯ
เรียบเรียงโดย
:
รู้ไว้ซะ
เพจFacebook
ช่องYOUTUBE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น